วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด พอริเมอร์

พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยเล็ก ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี เรียกว่าพันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) หน่วยเล็กๆของพอลิเมอร์คือโมเลกุลเล็กๆ เรียกว่า มอนอเมอร์ (Monomer)มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ของสารในพอลิเมอร์
ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ เรียกว่า พอลิเมอไรเซชั่น (Polymerization) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวของมอนอเมอร์แต่ละชนิด ภายใต้สภาวะต่างๆ เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น ทำให้เกิดพอลิเมอร์ชนิดต่างๆขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นพอลิเมอร์ในธรรมชาติ หรือพอลิเมอร์สังเคราะห์
พลาติกยางธรรมชาติ


พอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ดังนี้
  แบ่งตามการเกิด . พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ยางธรรมชาติ
. พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์โดยปฏิกิริยาเคมี โดยใช้สารเริ่มต้นหรือมอนอเมอร์ ส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลของไฮโดรคาร์ไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว คือสารประกอบที่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนอะตอมในโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอน เช่น เอทิลีน โพรพิลีน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชั่น จะได้พอลิเมอร์ ที่มีมวลโมเลกุลมาก และมีโครงสร้างแข็งแรง เช่น พอลีเอทิลีน พอลีโพรพิลีน เป็นต้น ซึ่งพอลิเมอร์เหล่านี้เรียกว่า เม็ดพลาสติก ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เรียกว่า ปิโตรเคมี เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตวัสดุต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอนและลูไซต์  วัสดุต่างๆที่เป็นพลาสติก ในปัจจุบันจึงได้จากกระบวนการพอลิเมอไรเซชั่นเป็นจำนวนมาก เช่น พลาสติกต่างๆ ภาชนะใส่อาหาร ท่อสายยาง ฟิล์มถ่ายรูป ของเล่นเด็ก และอีกมากมาย  แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ
. โฮมอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง พอลิเอทิลีน PVC . โคพอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน พอลิเอสเทอร์ โครงสร้างของพอลิเมอร์ . พอลิเมอร์แบบเส้น
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง
PVC พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน
. พอลิเมอร์แบบกิ่ง เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืดหยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ . พอลิเมอร์แบบร่างแห
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลต์ เมลามีนใช้ทำถ้วยชาม
พอลิเมอร์แบบเส้น
พอลิเมอร์แบบกิ่ง
พอลิเมอร์แบบร่างแห




พลาสติก (Plastics)

พลาสติก (Plastic) มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า "plastikos" หมายความว่าหล่อ หรือหลอมเป็นรูปร่างได้ง่าย พลาสติกเป็นโพลิเมอร์ประเภทหนึ่งที่ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น (Synthetic polymer) แต่ก็มีพลาสติกที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเช่นกัน เช่น ชะแล็ก พลาสติกเป็นสารอินทรีย์ เป็นไฮโดรคาร์บอน มีไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก พลาสติกเป็นโพลิเมอร์ที่สามารถนำมาหล่อเป็นรูปร่างต่างๆตามแบบ โดยใช้ความร้อนและแรงอัดเพียงเล็กน้อย มีจุดหลอมเหลวระหว่าง 80-350 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกด้วย
ปัจจุบันพลาสติก (plastic) มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุก่อสร้างหลายชนิดทำด้วยพลาสติก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือนจำพวกจานชาม ขวดโหลต่าง ๆ ของเล่นเด็ก วัสดุก่อสร้าง สีทาบ้าน กาวติดไม้และติดโลหะ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น เหตุที่พลาสติกเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูก มีน้ำหนักเบา ทนความชื้นได้ดี ไม่เป็นสนิม ทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการได้ง่ายกว่าโลหะ เป็นฉนวนไฟฟ้า มีทั้งชนิดโปร่งใสและมีสีต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนี้พลาสติกจึงใช้แทนโลหะหรือวัสดุบางชนิด เช่น แก้ว ได้เป็นอย่างดี แต่พลาสติกก็มีข้อเสียหลายอย่างด้วยกันคือ ไม่แข็งแรง (รับแรงดึง แรงบิดและแรงเฉือนได้ต่ำมาก) ไม่ทนความร้อน (มีจุดหลอมเหลวต่ำ ติดไฟง่าย และไม่คงรูป จึงทำให้ขอบเขตการใช้งานของพลาสติกยังไม่กว้างเท่าที่ควร
  พลาสติกประกอบไปด้วยโมเลกุลของธาตุหลาย ๆ ธาตุจับกันเป็นโมเลกุลใหญ่ที่เรียกว่า พอลีเมอร์ ลักษณะที่เด่นชัดของพลาสติกอยู่ตรงที่โมเลกุลของพลาสติกมีขนาดใหญ่โตกว่าสารอื่น ๆ มาก

พลาสติกที่ใช้ส่วนใหญ่ได้จากปฏิกิริยาสังเคราะห์ทางเคมี ส่วนพลาสติกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและใช้มากคือ เชลแล็ก (shellac) พลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ (สารอินทรีย์หมายถึงสารซึ่งในโมเลกุลมีธาตุไฮโดรเจน และคาร์บอนรวมกันอยู่ อาจมีเพียงอะตอมของธาตุทั้งสองหรือมีอะตอมของธาตุอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น มีเทน CH4 เป็นสารอินทรีย์ที่มีแต่อะตอมของไฮโดรเจน และคาร์บอน กรดน้ำส้ม CH3COOH มีอะตอมของไฮโดรเจน คาร์บอน และออกซิเจนรวมอยู่ด้วย เป็นต้น)
   เราสามารถแบ่งพลาสติกออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ


1. เทอร์มอเซตติงพลาสติก (thermosetting plastic) เป็นพลาสติกชนิดที่จะแข็งตัวคงรูปอยู่ได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยอาศัยความร้อนและความกดดัน ภายหลังปฏิกิริยาเคมีมันก็จะแข็งตัว และเราจะไม่สามารถเปลี่ยนรูปของมันโดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติของมันได้กล่าวคือ เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ มันจะสลายตัวเสียรูปไป

2. เทอร์มอพลาสติกพลาสติก (thermoplastic plastic) เป็นพลาสติกที่แข็งตัวโดยไม่อาศัยปฏิกิริยาทางเคมี แต่อาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ เมื่อทำพลาสติกชนิดนี้ให้ร้อนขึ้นแล้วเทลงในเบ้าหรือแบบมันก็จะเปลี่ยนรูปร่างไปตามแบบนั้น และเมื่อเย็นลงก็จะแข็งตัวคงรูปอยู่ได้ และเมื่อเป็นรูปแล้วเราสามารถที่จะหลอมและเปลี่ยนรูปเป็นอย่างอื่นได้อีก เพราะคุณสมบัติทางเคมีของมันยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงการแยกชนิดของพลาสติก       พลาสติกแต่ละชนิดมีจุดหลอมเหลวและความหนาแน่นต่างกัน จึงมีการใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยในการเลือกพลาสติกชนิดต่างๆ และช่วยในการแยกพลาสติกในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งเราสามารถแยกชนิดของพลาสติกออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้
 

  พลาสติกกลุ่มที่ 1 คือ เพท (PETE) สัญลักษณ์คือ 1 เป็นพลาสติกที่ส่วนใหญ่มีความใส มองทะลุได้ มีความแข็งแรงทนทานและเหนียว ป้องกันการผ่านของก๊าซได้ดี มีจุดหลอมเหลว 250-260 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 1.38-1.39 นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำปลา ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น
  พลาสติกกลุ่มที่ 2 คือ HDPE สัญลักษณ์คือ 2 เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง ค่อนข้างนิ่ม มีความเหนียวไม่แตกง่าย มีจุดหลอมเหลว 130 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 0.95-0.92 นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แชมพู ถุงร้อนชนิดขุ่น ขวดนม เป็นต้น
  พลาสติกกลุ่มที่ 3 คือ พีวีซี (PVC) สัญลักษณ์คือ 3 เป็นพลาสติกที่มีลักษณะทั้งแข็งและนิ่ม  สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ มีสีสันสวยงาม มีจุดหลอมเหลว 75-90 องศาเซลเซียส เป็นพลาสติกที่นิยมใช้มาก เช่น ท่อพีวีซี สายยาง แผ่นฟิล์มห่ออาหาร เป็นต้น
  พลาสติกกลุ่มที่ 4 คือ LDPE สัญลักษณ์คือ 4 เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความนิ่มกว่า HDPE มีความเหนียว ยืดตัวได้ในระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ใสมองเห็นได้ จุดหลอมเหลว 110 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่น 0.92-0.94  นิยมนำมาใช้ทำแผ่นฟิล์ม ห่ออาหารและห่อของ
  พลาสติกกลุ่มที่ 5 คือ pp สัญลักษณ์คือ 5 เป็นพลาสติกที่ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ มีความแข็งและเหนียว คงรูปดี ทนต่อความร้อน และสารเคมี มีจุดหลอมเหลว 160-170 องศาเซลเซียส ความหนาน่น 0.90-0.91 นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในครัวเรือน เช่น ถุงร้อนชนิดใส จาม ชาม อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด
  พลาสติกกลุ่มที่ 6 คือ PS สัญลักษณ์คือ 6  เป็นพลาสติกที่มีความใส แข็งแต่เปราะแตกง่าย  สามารถทำเป็นโฟมได้ มีจุดหลอมเหลว 70-115 องศาเซลเซียส ความหนาแน่น 0.90-0.91  นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องไอศกรีม กล่องโฟม ฯลฯ
  พลาสติกกลุ่มที่ 7 คือ อื่นๆ เป็นพลาสติกที่นอกเหนือจากพลาสติกทั้ง 6 กลุ่ม พบมากมายหลากหลายรูปแบบ
 
การรีไซเคิล (Recycle)
การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า "รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้
ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป
การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเก็บรวบรวม
2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน
 
ยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ยางเป็นวัสดุที่มีประโยชน์มากอีกอย่างหนึ่ง ยางธรรมชาติได้มาจากการกรีดผิวของต้นยางพารา (hevea brasiliensis) ซึ่งมักจะเจริญงอกงามอยู่ตามบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตร ในที่ซึ่งมีอากาศร้อน ฝนตกชุก และดินดี   ยางธรรมชาติ (latex)ยางธรรมชาติ มีชื่อทางเคมีว่า พอลีไอโซปรีน ประกอบด้วยไอโซปรีน จำนวน 1500 - 150000 หน่วย ลักษณะโครงสร้างของโมเลกุลจะขดม้วนเป็นวงและบิดเป็นเกลียว มีรูปร่างไม่แน่นอน แรงดึงดูดระหว่างโซ่สูง จึงมีความยืดหยุ่น และต้านทานต่อแรงดึงมาก  ยางสด  ที่กรีดได้จากผิวของต้นยางพารานั้นมีลักษณะข้นขาว เมื่อสะสมยางสดไว้แล้วก็ชั่งหาน้ำหนัก แล้วให้ยางสดผ่านตะแกรงเพื่อแยกเอาเศษผงหรือสิ่งสกปรกออก จากนั้นก็เทลงถังใหญ่แล้วผสมกับกรดอะเซติก (acetic acid) หรือกรดฟอร์มิก (formic acid) อย่างอ่อนเพื่อทำให้ยางสดจับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำไปรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยลูกกลิ้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำจัดน้ำและน้ำกรดที่จะยังหลงเหลืออยู่ออกด้วย แผ่นยางนี้จะถูกนำไปรมควัน และผึ่งแห้งประมาณ ๔-๕ วัน ที่อุณหภูมิ ๔๐-๕๐ องศาเซลเซียส โดยใช้ควันจากไม้สด ๆ ควันนี้จะทำให้แผ่นยางกลายเป็นสีน้ำตาล ในขณะเดียวกันควันก็ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดราบนแผ่นยางได้ ยางที่ได้นี้เรียกว่า ยางดิบ (crepe rubber) หรือยางแผ่นรมควัน ซึ่งจะถูกส่งไปสู่ผู้ผลิตสินค้าประเภทยางต่อไป ยางดิบอาจใช้ทำประโยชน์ เช่น ทำพื้นรองเท้าหรือถุงมือยางได้ แต่ส่วนมากไม่นิยมใช้ยางดิบทำ เพราะยางดิบไม่คงคุณภาพที่อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ   ยางดิบ ยางดิบมักจะเยิ้มเป็นยางเหนียวในฤดูร้อน และแข็งเปราะหักง่ายในฤดูหนาวเมื่ออุณหภูมิลดลง จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๓๘๒ นักประดิษฐ์ผู้หนึ่งชื่อ ชาลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear, ค.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๖๐ ชาวอเมริกัน) ผู้ซึ่งได้พยายามคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหานี้อยู่ บังเอิญทำก้อนยางที่ผสมกับกำมะถันตกลงไปในเตาขณะที่ทำการทดลองอยู่ ผลปรากฏว่ายางก้อนนั้นเปลี่ยนคุณสมบัติเป็นยางที่ดี ไม่อ่อนเสียรูปเวลาร้อนและไม่เปราะหักง่ายเวลาเย็น วิธีการเปลี่ยนยางดิบให้มีคุณสมบัติดีขึ้นโดยผสมกับกำมะถันนี้ คือวิธีวัลคาไนเซชัน (vulcanization มาจากคำว่า vulcan ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งไฟของชาวโรมันโบราณ) ยางที่ได้รับการอบแบบวัลคาไนเซชันแล้วนี้จะยังคงความยืดหยุ่นได้ดีอยู่เสมอ   ยางสังเคราะห์ ความจำเป็นในการใช้ยางในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศต้องคิดค้นหายางเทียม (synthetic rubber) ขึ้นใช้แทนยางธรรมชาติ ประเทศเยอรมันถูกตัดขาดจากแหล่งยางธรรมชาติ เนื่องจากการล้อมของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงต้องดิ้นรนขวนขวายค้นคว้าประดิษฐ์ยางเทียมขึ้น แต่ได้ยางเทียมที่ใช้ได้ไม่สู้ดีนัก ต่อมาใน พ.ศ. 2482 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมันก็ประสบปัญหาขาดแคลนยางธรรมชาติอีกจึงได้คิดค้นทำยางเทียมที่มีคุณภาพดีได้ 2 ชนิด คือ 1. บูนาเอส (buna S) ทำมาจากก๊าซบิวตะไดอีน  (butadiene) และสไตรีน (styrene) ซึ่งเป็นของเหลวสกัดมาจากน้ำมันปิโตรเลียม เรียกว่ายาง SBR  :  Styrenr - Butadiene Rubber2. บูนาเอ็น (buna N) ทำมาจากบูทาเดียนและอะไครโลนีไทรด์ (acrylonitride) ซึ่งเป็นของเหลวที่ได้มาจากก๊าซอะเซทิลีน (acetylene) และกรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid)
    
ต่อมาใน พ.ศ. 2485 กองทัพญี่ปุ่นได้ยึดเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางพาราไว้ได้ ทำให้ยางธรรมชาติที่จะถูกส่งไปสหรัฐอเมริกาถูกตัดขาดลง จึงได้มีการผลิตยางเทียมกันเป็นการใหญ่จนปัจจุบันนี้ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำแนวหน้าของโลกในฐานะผู้ผลิตยางเทียม
[Under Construction]

-->Home

-->Up

เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic fiber)

เซลลูโลสแอซีเตต
เป็นเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ชนิดแรกที่สังเคราะห์ขึ้นจากการนำเซลลูโลสมาทำปฏิกิริยากับกรดแอซีติกเข้มข้น โดยมีกรดซัลฟิวริกเข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เซลลูโลสแอซีเตตใช้ทำเส้นใย และผลิตเป็นแผ่นพลาสติก ทำแผงสวิตช์และหุ้มสายไฟฟ้า
โครงสร้างของเซลลูโลสแอซีเตต
เซลลูโลสแอซีเตต

กรอบแว่นตาทำด้วยพลาสติกเซลลูโลสแอซีเตต
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเซลลูโลสแอซีเตต
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเซลลูโลสแอซีเตต


มีการผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากเซลลูโลสอีกหลายชนิด เช่น เรยอนหรือเซลลูโลสซานเทต ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยเซลลูโลสให้มีสมบัติและเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น

เส้นใยสังเคราะห์
เป็นเส้นใยที่ได้จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ ประกอบด้วยโมเลกุลที่มีการเรียงตัวค่อนข้างเป็นระเบียบ และโมเลกุลส่วนใหญ่ต้องเรียงตัวตามแนวแกนของเส้นใย โดยทั่วไปความยาวของเส้นใยต้องไม่น้อยกว่า 100 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยนั้น

เส้นใยสังเคราะห์บางชนิดมีสมบัติดีกว่าเส้นใยธรรมชาติ เช่น มีความทนทานต่อจุลินทรีย์ เชื้อรา แบคทีเรีย ไม่ยับง่าย ไม่ดูดน้ำ ทนทานต่อสารเคมี ซึกง่าย แห้งเร็ว ตัวอย่างเส้นใยที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่น ไนลอน และโอรอน (พอลิอะคริโลไนไตรด์)

ไนลอน (Nylon)
เป็นชื่อเรียกทางการค้าของเส้นใยพอลิเอไมด์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ไนลอน 6,6 และไนลอน 6,10 (ตัวเลขหลังไนลอนแสดงถึงจำนวนอะตอมของ C ในมอนอเมอร์ของเอมีนและในกรดคาร์บอกซิลิก)

ผ้าไนลอน

เชือกไนลอน


เป็นเส้นใยที่นิยมใช้ มีชื่อทางการค้าว่า ดาครอนหรือโทเรเทโทรอน  ซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ระหว่างเอทิลีนไกลคอลกับไดเมทิลเทเรฟทาเรต ที่เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น มีสมบัติทนความร้อนและแสงแดด ทนสารเคมี ไม่ยับ ซักแล้วไม่ต้องรีด
เส้นใยพอลิเอสเทอร์และผ้าทำจากพอลิเอสเทอร์


เส้นใยธรรมชาติ (Natural fiber)

เส้นใยธรรมชาติที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายคือเซลลูโลส ซึ่งได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่ เส้นใยหุ้มเมล็ดฝ้าย นุ่น ใยมะพร้าว เส้นใยจากเปลือกไม้ เช่น ลินิน ปอ กัญชา เส้นใยจากใบ เช่น สับปะรด ศรนารายณ์ เส้นใยจากฝ้ายเป็นเซลลูโลสบริสุทธิ์ นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดถึง 50% ของเส้นใยทั้งหมด

ฝ้าย เป็นเซลลูโบสบริสุทธิ์

เส้นใยที่ได้จากสัตว์เป็นเส้นใยโปรตีน เช่น ขนแกะ ขนแพะ และเส้นใยจากรังไหม เส้นใยเหล่านี้มีสมบัติทั่วไปคล้ายโปรตีนอื่น ๆ คือเมื่อเปียกน้ำจะมีความเหนียวและความแข็งแรงลดลง ถ้าถูกแสงแดดเป็นเวลานานจะสลายตัวหรือกรอบ

การเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม
 

ไหมไทยชุดที่ 1


กบนอกกะลา  ไหมไทยชุดที่ 1



 

ข้อดีและข้อเสียของเส้นใยธรรมชาติ

1. เส้นใยจากธรรมชาติสามารถดูดซับน้ำได้ดี ระบายอากาศได้ดี จึงใส่แล้วรู้สึกสบาย ไม่ร้อน

2. เส้นใยจากธรรมชาติบางชนิด เช่น ฝ้าย เมื่อนำมาทอเป็นผ้าเพื่อใช้งานจะขึ้นราได้ง่าย ส่วนผ้าไหมจะหดตัวเมื่อได้รับความร้อนและความชื้น เส้นใยธรรมชาติบางชนิดต้องผลิตด้วยมือ ถ้าผลิตด้วยเครื่องจักรจะได้เส้นใยที่มีคุณภาพไม่ดีและมีการสูญเสียมาก เช่น ลินิน ป่าน
ผ้าฝ้าย เส้นใยจากธรรมชาติ
โซฟา ทำจากผ้าฝ้าย

3. ผ้าไหม เป็นเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยไหมของตัวหนอนไหม เป็นผ้าที่มีความสวยงาม ราคาแพง การเลี้ยงไหมมีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ ไหมที่มีชื่อเสียงมากคือไหมแพรวาจากอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผ้าไหมแพรวา
ผ้าไหมแพรวา
พอลิเมอร์ (
polymer) เป็นสารที่มีน้าหนักโมเลกุลสูง โดยได้จากสารโมเลกุลต่้าจ้านวนมากซ้าๆกัน


(
repeating units) โดยพอลิเมอร์มีทั้งที่ได้จากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ โดยพอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติ
ดังเช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส เป็นต้น ในขณะที่พอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์มีการผลิตและการใช้งานเป็น
จ้านวนวณมาก โดยสมบัติของพอลิเมอร์มีอย่างหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยพอลิเมอร์
ที่ส้าคัญ เช่น พอลิโพรพิลีน (
polypropylene) พอลิเอทิลีน (polyethylene) พอลิสไตรีน (polystyrene) และ พอลิ
เอสเทอร์ (
polyester) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพอลิเอสเทอร์มีการใช้งานกันอย่างมากมาย หลากหลาย
ผลิตภัณฑ์ ด้วยสมบัติที่โดดเด่นของพอลิเอสเทอร์ทั้งความทนทานต่อสภาวะการใช้งานทั้งความร้อนและการ
ผ่านของอากาศที่ดี พอลิเอสเทอร์ก็ยังเป็นพอลิเมอร์ที่ส้าคัญที่ได้ถูกน้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งที่เป็น
เส้นใยสั้น (
staple fiber) และเส้นใยยาวต่อเนื่อง (filament) โดยเส้นใยพอลิเอสเทอร์ถือได้ว่าเป็นเส้นใยหลักใน
อุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้การใช้งานของพอลิเอสเทอร์ในสายงานอื่นก็มีการใช้งานกันอย่างมากขึ้นตาม
ความต้องการของผู้บริโภค เช่น การผลิตเป็นขวดน้าดื่ม น้าอัดลมและฟิล์ม เป็นต้น
พอลิเอสเทอร์เป็นพอลิเมอร์ที่ไม่สามารถสลายตัวได้ด้วยสิ่งมีชีวิตหรือสามารถเสื่อมสลายด้วยสภาวะ
ต่างๆได้โดยง่าย (
non-biodegradable polymer) การใช้งานของผลิตภัณฑ์ เช่น ภาชนะ ขวดพอลิเอสเทอร์หรือที่
เรียกว่า ขวดเพ็ต (
PET; poly(ethylene terephthalate)) นั้น เป็นปัญหาส้าคัญในการก้าจัดและการย่อยสลาย อันจะ
ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมได้ ท้าให้โครงการนี้มีแนวคิดที่จะน้าขวดเพ็ตกลับมาใช้ใหม่ (
recycle) โดย
น้ามาผ่านกระบวนการทางเคมีและขึ้นรูปผลิตเป็นเส้นใย อันจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการน้าขยะพลาสติก
กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของขวดน้าพอลิเอสเทอร์ ช่วยลดปริมาณของขยะ
พลาสติกและเป็นการลดการใช้สารเคมีที่น้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยอีกด้วย
เส้นใยพอลิเอสเทอร์
(polyester fiber)

ในปัจจุบัน 46

% ของปริมาณการใช้เส้นใยทั่วโลกเป็นเส้นใยประดิษฐ์โดยทั้งหมดนี้เป็นพอลิเอสเทอร์
ถึง 48
% และนับเป็นเส้นใยประดิษฐ์ที่มีการผลิตมากที่สุดทั้งชนิด filament yarn (P/FY), pre-oriented yarn
(P/POY)
และ staple fiber (P/SF) โดยมีก้าลังการผลิตแบ่งออกเป็นชนิด P/FY 102,000 ตันต่อปี ชนิด P/POY
182,140
ตันต่อปี ชนิด P/SF 410,200 ตันต่อปี รวมทั้งสิ้น 694,340 ตันต่อปี
พอลิเอสเทอร์ที่ผลิตในปัจจุบันมีเพียงสองชนิดใหญ่ๆ เท่านั้น คือ
PET [poly(ethylene terephthalate)]
และ
PCDT [(poly(1,4 cyclohexylene-dimethylene terephthalate)] แต่ส่วนมากที่ผลิตมักเป็นชนิด PET ใน

กระบวนการสังเคราะห์
PET วัตถุดิบที่ใช้เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
เส้นใยพอลิเอสเทอร์เป็นเส้นใยพอลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการแบบควบแน่น
2 ขั้นตอน คือขั้นตอน
แรกเกิดปฏิกิริยาการเตรียมเอสเตอร์ (
esterification) โดยใช้กรดเทเรฟทาลิก (terephalic acid) และ เอทธิลีนไกล
คอล (
ethylene glycol) เป็นสารตั้งต้น หรือการใช้ปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนหมู่เอสเตอร์ (transesterification) โดย
ใช้ไดเมทิล เทเรฟทาเลท (
dimethyl terephthalate) ร่วมกับเอทธิลีนไกลคอล ที่อุณหภูมิ 275-285 0C โดย
ผลิตภัณฑ์เป็นสารไดเอสเตอร์ (
di-ester) เมื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ จะได้พอลิเมอร์ที่มี
ลักษณะเป็นของเหลวที่หลอมตัวอยู่ ไม่มีสีและใส จากนั้นท้าให้แข็งตัวเป็นเส้น ตัดเป็นเม็ดและอบให้แห้งเพื่อ
รอน้าไปผลิตเส้นใยต่อไป
กระบวนการพัฒนาเส้นใยพอลิเอสเทอร์จากขวดพลาสติกเพ็ต
การผลิตเส้นใยจากขวดเพ็ตเป็นการน้าของเหลือใช้จากการใช้งานแล้ว
มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็น อีกแนวทางหนึ่งในการลดการใช้พอลิเมอร์
ใหม่ (
virgin PET) ในการผลิตเส้นใย แต่ทั้งนี้การใช้งานพอลิเอสเทอร์จากขวด

เพ็ต จ้าเป็นต้องมีการคัดแยกขวดเพ็ตที่เหมาะสม ให้มีสิ่งสกปรกน้อยที่สุด ด้วย
เหตุที่การผลิตเส้นใยเป็นการผลิตที่มีความละเอียดสูง ความบริสุทธิ์ของพอลิ
เมอร์จึงเป็นสิ่งส้าคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้เส้นใยพอลิเอสเทอร์จากขวดเพ็ตที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานใน
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาพวงจรชีวิตของขวดเพ็ต
ที่มา
: http://etextile.j2.com.tw/article.php?id=9

การผลิตเม็ดพอลิเมอร์จากขวดเพ็ต
เมื่อขวดเพ็ตผ่านการใช้งานของผู้บริโภค ขวดเพ็ตจะน้าไปผ่านการตัดย่อยให้เป็นเศษชิ้นเล็กๆ แล้วน้ามา
หลอมเป็นเม็ดพอลิเอสเทอร์อีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการนี้เม็ดพอลิเมอร์ที่ได้จะมีความสม่้าเสมอมากขึ้นและสิ่ง
สกปรกที่ปนเปื้อนมาก็จะถูกก้าจัดออกไปด้วย แล้วจึงน้าเม็ดพอลิเมอร์มาหลอมขึ้นรูปเส้นใยต่อไป แต่สิ่งที่
ส้าคัญ คือ ความสม่้าเสมอของพอลิเมอร์และการอบเพื่อขับไล่ความชื้น โดยความชื้นที่มีอยู่ในเม็ดพอลิเอสเทอร์
ไม่ควรเกินกว่า
100 ppm ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อคุณภาพของเส้นใย
Quenching
Dried Chip
Extruder
Spin Block
Godet
Winding
การน้าเม็ดพอลิเมอร์มาขึ้นรูปเส้นใย

การขึ้นรูปเป็นเส้นใยนับเป็นส่วนที่ส้าคัญอย่างมากของกระบวนการผลิต เป็นการขึ้นรูปในลักษณะการ
อัดรีดของเหลวให้ผ่านรูในหัวรีด (
spinneret) ขั้นตอนนี้เรียกกันว่าเป็นการท้า extrusion แต่ละรูท้าให้เกิดเส้นใย
แต่ละเส้นออกมา
ในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์นี้ยังมีอีกขั้นตอนที่มีความส้าคัญอย่างมาก คือ การดึงยืดเส้นใย
(drawing) ซึ่ง
มีผลท้าให้โครงสร้างภายในของเส้นใยเกิดการเรียงตัวขึ้น
(orientation) ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อสมบัติเชิงกลและ
สมบัติทางกายภาพของเส้นใย ท้าให้เส้นใยมีความแข็งแรงและความยาวเพิ่มขึ้น ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง
ลดลง เส้นใยที่ได้มีความละเอียดมากขึ้น และกระบวนการที่ต้องผ่านความร้อนเพื่อให้เส้นใยมีสมบัติที่คงสภาพ
ในสภาวะการใช้งานต่างๆได้เป็นอย่างดี เรียกว่า การท้า
heat treatment โดยทั้งขั้นตอนการดึงยืดและการผ่าน
ความร้อน ปัจจุบันได้พัฒนาจนสามารถผลิตได้ในขั้นตอนเดียว โดยเส้นใยที่ได้จะเป็นเส้นใยที่พร้อมใช้งาน โดย
เรียกเส้นใยประเภทนี้ว่าเป็น
FDY (fully draw yarn)
ด้านการน้าไปใช้งานนั้น นับได้ว่าไม่มีเส้นใยสังเคราะห์ชนิดใดที่สามารถแข่งขันกับพอลิเอสเทอร์ได้
ด้วยสมบัติที่โดดเด่นทั้งในขณะแห้งและเปียก ขณะเปียกจะมีความสามารถในการคืนตัวได้สูง ไม่ยับ ไม่หดและ
ดูแลรักษาง่าย อีกทั้งสามารถใช้ผสมกับเส้นใยชนิดอื่นได้เป็นอย่างดี พอลิเอสเทอร์สามารถใช้ท้าผ้าถักและผ้าทอ
ได้เป็นเสื้อผ้าสวมใส่เพื่อความสวยงาม เสื้อสูท กระโปรง ผ้าม่าน ผ้าตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ และปัจจุบันมีการน้าพอ
ลิเอสเทอร์มาท้าเป็นผ้าไม่ทอ
(nonwoven) ส้าหรับท้าพรมและใช้ในงานก่อสร้างอีกด้วย
สมบัติเส้นใยที่ได้จากขวดเพ็ตและการนาไปใช้งาน
จากเม็ดพอลิเอสเทอร์ที่น้ามาจากขวดเพ็ต และน้ามาผลิตเป็นเส้นใยด้วยเครื่อง
ขึ้นรูปเส้นใยขนาดประลอง (
Fourne’ modular melt spin tester) พบว่าเส้นใยมีสมบัติ
ที่ใกล้เคียงกับเส้นใยที่ผลิตจากพอลิเมอร์ใหม่
(virgin polyester) โดยมีการผลิตเป็น
เส้นใยยาวต่อเนื่อง (
Multifilament) 24 เส้น ขนาด 80 denier เส้นใยจากเม็ดขวดเพ็ตมี
ความแข็งแรงเท่ากับ
2.52 ถึง 3.37 gf/den ซึ่งเป็นค่าความแข็งแรงที่สามารถน้าไปใช้
ประโยชน์ด้านเส้นใยสังเคราะห์ได้ แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อจ้ากัดของประสิทธิภาพ
เครื่องขึ้นรูปเส้นใยขนาดประลอง สมบัติของเส้นใยที่ได้ก็ยังคงไม่สูงมากนัก แต่ก็พบว่าพอลิเอสเทอร์จากขวด
เพ็ตมีสมบัติที่เหมาะสมในการผลิตเส้นใยเพื่องานสิ่งทอได้
งานวิจัยนี้เป็นการน้าพอลิเอสเทอร์ที่ได้จากการรีไซเคิลขวดน้าดื่มชนิดใสหรือ
ขวดเพ็ต มาเป็นวัตถุดิบส้าหรับใช้ผลิตเป็นเส้นใยและสิ่งทอ โดยมุ่งเน้นการ
ปรับสภาวะที่เหมาะส้าหรับการรีไซเคิลให้ได้เม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพสูง
เนื่องจาก
PET เป็นพลาสติกที่สลายตัวได้ง่ายในกระบวนการรีไซเคิลที่มีทั้ง
ความชื้นและความร้อนเป็นปัจจัยส้าคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้เม็ดรี
ไซเคิลในการผลิตเส้นใยได้สูงสุด ถึง
100% เพื่อลดการเติมเม็ดพลาสติกใหม่ในกระบวนการผลิต

แบบทดสอบ

1. สารประกอบในข้อใดเป็นโคพอลิเมอร์
ก. โปรตีน
ข. เซลลูโลส
ค. พอลิไวนิลคลอไรด์
ง. เทฟลอน

2. โฮโมพอลิเมอร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ก. พอลิเมอร์คู่
ข. พอลิเมอร์เดี่ยว
ค. พอลิเมอร์รวม
ง. พอลิเมอร์สาม

3. สารใดเป็นพลาสติกเทอร์มอเซต
ก. โฟม
ข. พอลิไวนิลคลอไรด์
ค. เมลามีน
ง. พอลิโพรพิลิน

4. ปฏิกิริยาพอเมอร์ไรเซชันมีทั้งหมดกี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ

5. โครงสร้างพอลิเมอร์แบบใดที่เมื่อร้อนจะอ่อนตัวเมื่อเย็นจะเเข็งตัว
ก. โครงสร้างแบบเส้น
ข. โครงสร้างแบบกิ่ง
ค. โครงสร้งแบบร่างแห
ง. ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดคือการเรียงตัวของโพลิเมอร์แบบบล็อก
ก. - A - A - A - A - A -A -A -
ข. - A - B - A - B - A -B -A -
ค. - A - B - A - B - A -B -
ง. - A - A - A - A - B -B - B - B -

7. ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์
ก. ยาง
ข. แก้ว
ค. พลาสติก
ง. เส้นใย

8. ข้อใดมิใช่พอลิเมอร์ประเภทเส้นใย
ก. ใยสัปรด
ข. ใยแมงมุม
ค. เรยอน
ง. ลินิน

9. ยาง พบมากบริเวณใด
ก. ที่ฝนตกชุก
ข. ใกล้เส้นศูนย์สูตร
ค. อากาศร้อนชื้น
ง. ถูกทุกข้อ

10. มวลโมเลกุลของพอลิเมอร์อยู่ในช่วงใด
ก. 1,000 - 10,000
ข. 10,000 - 100,000
ค. 100,000 - 1,000,000
ง. 10,000 - 1,000,000

11.  ข้อใดไม่ใช่สมบัติของเส้นใยสังเคราะห์
                1. ทนต่อเชื้อราและจุลินทรีย์
                2. ระบายความร้อนได้ดีเมื่อนำมาทำเสื้อผ้า
                3. ไม่ยับง่าย ไม่ดูดน้ำ
                4. ทนต่อสารเคมี

12. ข้อใดเป็นเส้นใยสังเคราะห์
                1. ใยหิน
                2. เจลาติน
                3. ลินิน
                4. พอลิเอไมด์

13. ข้อใดที่มีข้อมูลสอดคล้องตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้
                เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์
                1. ขนแกะ พอลิเอไมด์
                2. ปอ พอลิเอสเทอร์
                3. ใยสับปะรด ไนลอน
                4. เส้นใยไหม เรยอน

14. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดผิด
ก.แป้งเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติประเภทโฮโมพอลิเมอร์
ข.โzปรตีนเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติประเภทโคพอลิเมอร์
ค.พอลิไวนิลแอลกอฮอร์เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ละลายน้ำ
ง.พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ(LDPE) มีโครงาร้างแบบร่างแหจึงยืดหยุ่น

15. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดผิด
ก.พอลิเอทิลีนเป็นเทอร์มอเซตที่โมเลกุลมีการเชื่อมโยงเป็นร่างแห ไม่สามารถนำมาหลอมใหม่ได้
ข.ภาชนะเมลามีนสามารถนำมารีไซเคิล หรือหลอมใช้ใหม่ได้ เพื่อลดมลภาวะ
ค.เทฟลอนที่ใช้เคลือบภาชนะหุงต้มเป็นเทอร์มอเซต เนื่องจากทนความร้อนได้ดีมากและไม่หลอมเหลว
ง.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา


16. ข้อใดเป็นการเลือกปฏิบัติได้เหมาะสมที่สุด
ก.เก็บขวดพลาสติกไม่ใช้แล้วใส่ไว้ในน้ำมันเบนซิน
ข.ใช้ถ้วยชามที่ผลิตจากพอลิเอทิลีนอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ
ค.ใช้ภาขนะที่เคลือบด้วยพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีนในการทอดปลา
ง.เก็บถ้วยชามประเภทเมลานีนที่ชำรุดเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่


17. จำนวนคาร์บอนของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต PVC และเทฟลอน มีกี่อะตอมต่อโมเลกุล
 ก.2 อะตอมทั้งคู่
 ข.2 และ 3 อะตอมตามลำดับ
 ค.3 อะตอมทั้งคู่
 ง.3 และ 2 อะตอมตามลำดับ

ตอนที่  2

แบบทดสอบเรื่องยาง
  ..........1.  มอนอเมอร์ของยางธรรมชาติ
  ..........2.  สารที่ใส่ลงไปเพื่อทําใหยางมีความคงตัวที่อุณหภูมิต่างๆ  ทนความร้อน  และตัวทําละลาย
  ..........3.  ยางสังเคราะหที่มีโครงสร้างเหมือนธรรมชาติ  จุดเด่นคือ มีสิ่งเจือปนน้อย คุณภาพสม่ำเสมอ
  ..........4.  ยางที่เกิดจากมอนอเมอรของสไตรีนบิวตาไดอีนมารวมกัน
  ..........5.  เกิดจากปฏิกิริยาการรวมตัวระหว่างมอนอเมอร 2 ชนิด  หรือ การนําเส้นใยธรรมชาติมา แปรรูปเป็นพอลิเมอร์
  ..........6.  สารที่ใช้ในการทําเส้นใยสังเคราะห
  ..........7.  สารที่เกิดขึ้นในการทําเส้นใยสังเคราะห
  ..........8.  เส้นใยสังเคราะหที่เกิดจากหมู NH2 และ CO2H
  ..........9.  เส้นใยสังเคราะหที่เกิดจากหมู CO2H และ OH
  ..........10. พอลิเมอรที่เกิดขึ้นเมือซิลิคอนไดออกไซดทําปฏิกิริยาเคมีกับอัลคินคลอไรด

ก.  ไนลอน 66
ข.  ยาง SBR
ค.  เส้นใยสังเคราะห
ง.  ยาง IR
จ.  ไอโซปรีน
ฉ.  กํามะถัน
ช.  พอลิเมอรเอสเทอร
ซ.  ซิลิโคน
ฌ.  แอมโมเนียและคอปเปอร (II) คาร์บอเนต
ญ.  คิวพรัมโมเนียมเรยอน